วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

โครงการพระราชดำริ

โครงการกังหันชัยพัฒนา


โครงการชัยพัฒนา-กาชาดไทย-ศุภนิมิต (บ้านบางหว้า)
ตำบลคุระ อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา
ความเป็นมา
                        1. นางรุณีย์ อารีสวัสดิ์ ราษฎรบ้านทุ่งนางดำ อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา และ  เพื่อนบ้าน 23 ครอบครัว ได้ร้องเรียนมายังสำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา เพื่อขอความช่วยเหลือภายหลังประสบภัยพิบัติสึนามิเนื่องจากไม่มีหน่วยงานใด                   ให้ความช่วยเหลือ
                        2. ต่อมา สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาจึงได้เข้าดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงและเสนอ รายงานกราบบังคมทูล สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ   สยามบรมราชกุมารี และได้พระราชทานพระราชวินิจฉัยให้ดำเนินการช่วยเหลือราษฎรดังกล่าวโดยการหาพื้นที่ เพื่อจัดสร้างบ้านพักถาวร รวมถึงให้ความช่วยเหลือด้านเครื่องมือประกอบอาชีพพร้อมทั้งให้ความรู้ด้านต่างๆ เพื่อนำไปประกอบอาชีพเสริม
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
                        สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา
แนวทางการดำเนินงาน
                         สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาได้ประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  เพื่อวางแผนการดำเนินงาน   โครงการฯ ประกอบด้วย
                        1. แผนงานจัดสร้างที่อยู่อาศัย สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานและจัดระเบียบชุมชน
                        2. แผนงานส่งเสริมและพัฒนาอาชีพ
ผลการดำเนินงาน 
1.  แผนงานจัดสร้างโครงสร้างพื้นฐาน
1.1 การจัดซื้อที่ดิน 
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานงบประมาณให้มูลนิธิชัยพัฒนาดำเนินการซื้อที่ดิน จำนวน 5 ไร่       บริเวณบ้านบางหว้า หมู่ที่ 9 ตำบลคุระ อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา เพื่อก่อสร้างบ้านพักถาวร
1.2 การก่อสร้างบ้านพักถาวรและระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน
สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ได้ประสานไปยังกลุ่มนายช่างชาวภูเก็ต เพื่อทำการออกแบบและก่อสร้างบ้านพักถาวร 23 หลัง พร้อมทั้งระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการก่อสร้าง ดังนี้
                  - มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย ให้การสนับสนุนในด้านการก่อสร้างบ้านพักจำนวน 23 หลัง 
                  - สภากาชาดไทยให้การสนับสนุนในด้านการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค
ปัจจุบันการดำเนินงานด้านการก่อสร้างบ้านพักและระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น ถนนทางเดินในโครงการฯ ระบบบำบัดน้ำเสียและขยะ ระบบระบายน้ำ ระบบประปา อาคารอเนกประสงค์ และลานกีฬา ได้ดำเนินการเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
      2. งานด้านการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ
2.1 สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาได้ดำเนินการสนับสนุนเครื่องมือในการประกอบอาชีพที่จำเป็น เช่น เรือประมง อวน รวมถึงประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้ความรู้ด้านการประกอบอาชีพเสริม เช่น การปลูกผักปลอดสารพิษ การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ การทำผ้ามัดย้อมและการทำน้ำยาล้างจาน
2.2 สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาได้ประสานกับ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนไทยพาณิชย์ จำกัด เพื่อจัดตั้งกองทุนสนับสนุนโครงการนำร่องการทำประมงในกระชังหมุนเวียนแบบผสม โดยประกอบด้วยกิจกรรม 2 ส่วน ได้แก่    กิจกรรมการเลี้ยงกุ้งมังกร ในช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนเมษายน และการเลี้ยงปลาในกระชัง ในช่วงเดือนเมษายน ถึง เดือนตุลาคม โดยมีสมาชิกกลุ่มผู้เลี้ยงกุ้งท่าชาวน้ำ ประกอบด้วยราษฎรในโครงการชัยพัฒนา กาชาดไทย ศุภนิมิต (บ้านบางหว้า)  เป็นผู้ดำเนินการ ปัจจุบันได้มีการจับผลผลิตสัตว์น้ำทั้งกุ้งมังกร และปลา แล้ว
3. การจัดตั้งหมู่บ้านโครงการชัยพัฒนา - กาชาดไทย - ศุภนิมิต (บ้านบางหว้า)
3.1 การจัดราษฎรเข้าพักอาศัยบ้านพักถาวรในโครงการฯ
- สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาได้คัดเลือกราษฎรจากเกาะพระทอง เข้าพักอาศัยในหมู่บ้าน จำนวน 23 หลัง ซึ่งจากการตรวจสอบ การเข้าพักอาศัยของราษฎร พบว่า มีราษฎรเข้าพักอาศัยเป็นไปตามหลักเกณฑ์แล้วบางส่วน
      - สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ได้สำรองบ้านพักไว้ จำนวน 4 หลัง ซึ่งสำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ร่วมกับอำเภอคุระบุรี ได้แต่งตั้งคณะกรรมการ ประกอบด้วย ผู้แทนจากอำเภอคุระบุรี ผู้แทนองค์การบริหารส่วนตำบลคุระ และผู้แทนเจ้าหน้าที่และราษฎรในโครงการ เพื่อดำเนินการพิจารณาคัดเลือกราษฎรที่จะเข้าพักอาศัยในบ้านพักที่ว่าง โดยการคัดเลือกจากผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์สึนามิ  ที่ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือ และราษฎรที่เป็นคนจนที่ขึ้นทะเบียนไว้ที่อำเภอคุระบุรี 
พทางนิเวศที่เหมาะสมและความหลากหลายทางชีวภาพ แก่สังคมของพืชและสัตว์ ตลอดจนนำความชุ่มชื้นมาสู่แผ่นดิน กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช โดยสำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ ได้นำแนวทางพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับฝาย เข้ามาบรรจุเป็นกิจกรรมหนึ่งในการฟื้นฟูระบบนิเวศของป่าไม้บริเวณพื้นที่ต้นน้ำลำธารให้ฟื้นคืนสภาพทางนิเวศที่ เหมาะสมต่อ  การเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 ในงบงานการจัดการลุ่มน้ำของกรมป่าไม้ (เดิม) ซึ่งหน่วยจัดการต้นน้ำทั่วประเทศ จำนวน 203 หน่วยทั่วประเทศ ได้ดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดทำฝายต้นน้ำลำธาร ประเภทต่าง ๆ เป็นจำนวนมากจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2546) ดังนี้
                       
โครงการพระราชดำริฝนหลวง
    ที่มาโครงการพระราชดำริฝนหลวง
                       "...แต่มาเงยดูท้องฟ้า มีเมฆ ทำไมมีเมฆอย่างนี้ ทำไมจะดึงเมฆนี่ลงมาให้ได้ก็เคยได้ยินเรื่องการทำฝน ก็มาปรารภกับคุณเทพฤทธิ์ ฝนทำได้ มีหนังสือ เคยอ่านหนังสือทำได้..."
                                                              
โครงการพระราชดำริฝนหลวง เป็นโครงการที่ก่อกำเนิดจาก   พระมหากรุณาธิคุณ ที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร ที่ต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ เพื่ออุปโภคบริโภคและเกษตรกรรม อันเนื่องมาจากภาวะแห้งแล้งซึ่งมีสาเหตุมาจาก ความผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติ กล่าวคือ ฤดูฝนเริ่มต้นล่าเกินไป หรือหมดเร็วกว่าปกติหรือฝนทิ้งช่วงยาวในช่วงฤดูฝน จากพระราชกรณียกิจ ในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรในทุกภูมิภาคอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอนับแต่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ จนตราบเท่าทุกวันนี้ ทรงพบเห็นว่าภาวะแห้งแล้ง ได้ทวีความถี่ และมีแนวโน้มว่าจะรุนแรงยิ่งขึ้นตามลำดับ เพราะนอกจากความผันแปรและคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติแล้ว การตัดไม้ทำลายป่า ยังเป็นสาเหตุให้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้แก่ราษฎร ในทุกภาคของประเทศ ทำความเสียหายแก่เศรษฐกิจโดยรวมของชาติเป็นมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปี พ.ศ. 2498 ครั้งเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน ตามเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินทรงสังเกตเห็นว่ามีเมฆปริมาณมากปกคลุมท้องฟ้า แต่ไม่สามารถก่อรวมตัวกัน จนเกิดเป็นฝนได้ เป็นเหตุให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงระยะยาวทั้ง ๆ ที่เป็นช่วงฤดูฝน ทรงคิดคำนึงว่า น่าจะมีมาตรการทางวิทยาศาสตร์ ที่จะช่วยให้เมฆเหล่านั้นก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ ทรงเชื่อมั่นว่า ด้วยลักษณะของภูมิอากาศ และภูมิประเทศของประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคเขตร้อน และอยู่ในอิทธิพลของฤดูมรสุมของทวีปเอเชีย โดยเฉพาะฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นฤดูฝน และเป็นฤดูเพาะปลูกประจำปีของประเทศไทย จะสามารถดัดแปรสภาพอากาศ ให้เกิดเป็นฝนตกได้ อย่างแน่นอน
ตามที่ทรงเล่าไว้ใน The Rainmaking Story  จากปี พ.ศ. 2498  เป็นต้นมา ทรงศึกษาค้นคว้า และวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการอุตุนิยมวิทยา และการดัดแปรสภาพอากาศ ซึ่งทรงรอบรู้ และเชี่ยวชาญ เป็นที่ยอมรับทั้งในและ ต่างประเทศ จนทรงมั่นพระทัย จึงพระราชทานแนวคิดนี้แก่ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยประดิษฐ์ทางด้านเกษตรวิศวกรรม ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขณะนั้น   ซึ่งในปีถัดมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้หาลู่ทางที่จะทำให้เกิดการทดลองปฏิบัติการในท้องฟ้าให้เป็นไปได้
การทดลองในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก
ปี พ.ศ. 2512 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้งหน่วยบินปราบศัตรูพืชกรมการข้าว และพร้อมที่จะให้การสนับสนุนในการสนองพระราชประสงค์   ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล จึงได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบว่า พร้อมที่จะดำเนินการตามพระราชประสงค์แล้ว ดังนั้นในปีเดียวกันนั้นเอง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการทดลองปฏิบัติการจริงในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 1-2  กรกฎาคม 2512 โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้งให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล เป็นผู้อำนวยการโครงการ และหัวหน้าคณะปฏิบัติการทดลอง เป็นคนแรก และเลือกพื้นที่วนอุทยานเขาใหญ่เป็นพื้นที่ทดลองเป็นแห่งแรก โดยทดลองหยอดก้อนน้ำแข็งแห้ง (Dry Ice หรือ Solid Carbon dioxide) ขนาดไม่เกิน 1 ลูกบาศก์นิ้ว เข้าไปในยอดเมฆสูงไม่เกิน 10,000 ฟุต ที่ลอยกระจัดกระจายอยู่เหนือพื้นที่ทดลองในขณะนั้น ทำให้กลุ่มเมฆทดลองเหล่านั้นมีการเปลี่ยนแปลงทางฟิสิกส์อย่างเห็นได้ชัดเจน เกิดการกลั่นรวมตัวกันหนาแน่น และก่อยอดสูงขึ้นเป็นเมฆฝนขนาดใหญ่ ในเวลาอันรวดเร็วแล้วเคลื่อนตัวตามทิศทางลมพ้นไปจากสายตา ไม่สามารถสังเกตได้เนื่องจากยอดเขาบัง แต่จากการติดตามผลโดยการสำรวจทางภาคพื้นดิน และได้รับรายงานยืนยันด้วยวาจาจากราษฎรว่า เกิดฝนตกลงสู่พื้นที่ทดลองวนอุทยานเขาใหญ่ในที่สุด นับเป็นนิมิตหมายบ่งชี้ให้เห็นว่าการบังคับเมฆให้เกิดฝนเป็นสิ่งที่เป็นไปได้
โครงการทฤษฎีใหม่
บทนำ
ปัญหาหลักของเกษตรกรในอดีตจนถึงปัจจุบันที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การขาดแคลนน้ำเพื่อเกษตรกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพื้นที่เกษตรที่อาศัยน้ำฝน ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศที่อยู่ในเขตที่มีฝนค่อนข้างน้อย และส่วนมากเป็นนาข้าวและพืชไร่ เกษตรกรยังคงทำการเพาะปลูกได้ปีละครั้งในช่วงฤดูฝนเท่านั้น และมีความเสี่ยงกับความเสียหายอันเนื่องมาจากความแปรปรวนของดิน ฟ้า อากาศ และฝนทิ้งช่วง แม้ว่าจะมีการขุดบ่อหรือสระเก็บน้ำไว้ใช้บ้างแต่ก็ไม่มีขนาดแน่นอน หรือมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เป็นปัญหาให้มีน้ำใช้ไม่เพียงพอ รวมทั้งระบบการปลูกพืชไม่มีหลักเกณฑ์ใด ๆ และส่วนใหญ่ปลูกพืชชนิดเดียว
ด้วยเหตุนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงได้พระราชทานพระราชดำริ  ิเพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบความยากลำบากดังกล่าว ให้สามารถผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤติ โดยเฉพาะการขาดแคลนน้ำได้โดยไม่เดือดร้อนและยากลำบากนัก
พระราชดำรินี้ ทรงเรียกว่า "ทฤษฎีใหม่" อันเป็นแนวทางหรือหลักการในการบริหารการจัดการที่ดินและน้ำเพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็ก  ให้เกิดประโยชน์ สูงสุด
ทฤษฎีใหม่ : ทำไมใหม่
๑. มีการบริหารและจัดแบ่งที่ดินแปลงเล็กออกเป็นสัดส่วนที่ชัดเจน เพื่อประโยชน์สูงสุดของเกษตรกรซึ่งไม่เคยมีใครคิดมาก่อน
๒. มีการคำนวณโดยหลักวิชาการเกี่ยวกับปริมาณน้ำที่จะกักเก็บให้พอเพียงต่อการเพาะปลูก ได้อย่างเหมาะสมตลอดปี
๓. มีการวางแผนที่สมบูรณ์แบบ สำหรับเกษตรกรรายย่อย โดยมีถึง ๓ ขั้นตอน

ทฤษฎีใหม่ขั้นต้น
การจัดสรรพื้นที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน
ให้แบ่งพื้นที่ออกเป็น ๔ ส่วน ตามอัตราส่วน ๓๐:๓๐:๓๐:๑๐ ซึ่งหมายถึง
พื้นที่ส่วนหนึ่ง ประมาณ ๓๐% ให้ขุดสระเก็บกักน้ำเพื่อใช้เก็บกักน้ำฝนในฤดูฝนและใช้เสริมการปลูกพืช   ในฤดูแล้ง ตลอดจนการเลี้ยงสัตว์น้ำและพืชน้ำต่าง ๆ
พื้นที่ส่วนที่สอง ประมาณ ๓๐% ให้ปลูกข้าวในฤดูฝนเพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันสำหรับครอบครัว  ให้เพียงพอตลอดปี เพื่อตัดค่าใช้จ่ายและสามารถพึ่งตนเองได้
พื้นที่ส่วนที่สาม ประมาณ ๓๐% ให้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชผัก พืชไร่ พืชสมุนไพร ฯลฯ  เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวัน หากเหลือบริโภคก็นำไปจำหน่าย
พื้นที่ส่วนที่สี่ ประมาณ ๑๐% เป็นที่อยู่อาศัย เลี้ยงสัตว์ ถนนหนทาง และโรงเรือนอื่น ๆ
หลักการและแนวทางสำคัญ
๑. เป็นระบบการผลิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงที่เกษตรกรสามารถเลี้ยงตัวเองได้ในระดับที่ประหยัดก่อน ทั้งนี้ชุมชนต้องมีความสามัคคี ร่วมมือร่วมใจในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ทำนองเดียวกับการ "ลงแขก" แบบดั้งเดิมเพื่อลดค่าใช้จ่าย
๒. เนื่องจากข้าวเป็นปัจจัยหลักที่ทุกครัวเรือนจะต้องบริโภค ดังนั้น จึงประมาณว่าครอบครัวหนึ่งทำนาประมาณ ๕ ไร่ จะทำให้มีข้าวพอกินตลอดปี โดยไม่ต้องซื้อหาในราคาแพงเพื่อยึดหลักพึ่งตนเองได้อย่างมีอิสรภาพ
๓. ต้องมีน้ำเพื่อการเพาะปลูกสำรองไว้ใช้ในฤดูแล้ง หรือระยะฝนทิ้งช่วงได้อย่างพอเพียง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องกันที่ดินส่วนหนึ่งไว้ขุดสระน้ำ โดยมีหลักว่าต้องมีน้ำเพียงพอที่จะทำการเพาะปลูกได้ตลอดปี ทั้งนี้ได้พระราชทานพระราชดำริเป็นแนวทางว่า ต้องมีน้ำ ๑,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตรต่อการเพาะปลูก ๑ ไร่  โดยประมาณ ฉะนั้น เมื่อทำนา ๕ ไร่ ทำพืชไร่หรือไม้ผลอีก ๕ ไร่ (รวมเป็น ๑๐ ไร่) จะต้องมีน้ำ ๑๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตรต่อปี
ดังนั้น หากตั้งสมมุติฐานว่ามีพื้นที่ ๑๕ ไร่ ก็จะสามารถกำหนดสูตรคร่าว ๆ ว่า แต่ละแปลงประกอบด้วย
- นา ๕ ไร่
- พืชไร่พืชสวน ๕ ไร่
- สระน้ำ ๓ ไร่ ลึก ๔ เมตร จุประมาณ ๑๙,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร ซึ่งเป็นปริมาณน้ำที่เพียงพอที่จะสำรองไว้ใช้ยามฤดูแล้ง
- ที่อยู่อาศัยและอื่น ๆ ๒ ไร่
รวมทั้งหมด ๑๕ ไร่
แต่ทั้งนี้ ขนาดของสระเก็บกักน้ำขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศและสภาพแวดล้อม ดังนี้
- ถ้าเป็นพื้นที่ทำการเกษตรอาศัยน้ำฝน สระน้ำควรมีลักษณะลึกเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำระเหยได้มากเกินไป ซึ่งจะทำให้มีน้ำใช้ตลอดทั้งปี
- ถ้าเป็นพื้นที่ทำการเกษตรในเขตชลประทาน สระน้ำอาจมีลักษณะลึกหรือตื้นและแคบหรือกว้างก็ได้ โดยพิจารณาตามความเหมาะสมเพราะสามารถมีน้ำมาเติมอยู่เรื่อย ๆ
การมีสระเก็บกักน้ำก็เพื่อให้เกษตรกรได้มีน้ำใช้อย่างสม่ำเสมอทั้งปี (ทรงเรียกว่า Regulator หมายถึงการควบคุมให้ดีมีระบบน้ำหมุนเวียนใช้เพื่อการเกษตรได้โดยตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน้าแล้งและระยะฝนทิ้งช่วง แต่มิได้หมายความว่าเกษตรกรจะสามารถปลูกข้าวนาปรับได้ เพราะหากน้ำในสระเก็บกักน้ำไม่พอ ในกรณีมีเขื่อนอยู่บริเวณใกล้เคียงก็อาจจะต้องสูบน้ำมาจากเขื่อน ซึ่งจะทำให้น้ำในเขื่อนหมดได้ แต่เกษตรกรควรทำนาในหน้าฝน และเมื่อถึงฤดูแล้งหรือฝนทิ้งช่วงให้เกษตรกรใช้น้ำที่ได้เก็บตุนนั้น ให้เกิดประโยชน์ทางการเกษตรอย่างสูงสุด โดยพิจารณาปลูกพืชให้เหมาะสมกับฤดูกาล เช่น
- หน้าฝนจะมีน้ำมากพอที่จะปลูกข้าวและพืชชนิดอื่น ๆ ได้
- หน้าแล้งหรือฝนทิ้งช่วง ควรปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย เช่น ถั่วต่าง ๆ
๔. การจัดแบ่งแปลงที่ดินเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงคำนวณ และคำนึงจากอัตราการถือครองที่ดินถัวเฉลี่ยครัวเรือนละ ๑๕ ไร่ อย่างไรก็ตามหากเกษตรกรมีพื้นที่ถือครองน้อยกว่า หรือมากกว่านี้ก็สามารถใช้อัตราส่วน ๓๐:๓๐:๓๐:๑๐ ไปเป็นเกณฑ์ปรับใช้ได้ กล่าวคือ
- ๓๐% ส่วนแรก ขุดสระน้ำ (สามารถเลี้ยงปลา ปลูกพืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง ผักกะเฉด ฯลฯ ได้ด้วย) และบนสระอาจจะสร้างเล้าไก่ได้ด้วย
- ๓๐% ส่วนที่สอง ทำนา
- ๓๐% ส่วนที่สาม ปลูกพืชไร่ พืชสวน (ไม้ผล ไม้ยืนต้น ไม้ใช้สอย ไม้เพื่อเป็นเชื้อฟืน ไม้สร้างบ้าน พืชไร่ พืชผัก สมุนไพร เป็นต้น)
- ๑๐% สุดท้าย เป็นที่อยู่อาศัยและอื่น ๆ (ถนน คันดิน กองฟาง ลานตาก กองปุ๋ยหมัก โรงเรือน โรงเพาะเห็ด คอกสัตว์ ไม้ดอกไม้ประดับ พืชผักสวนครัวหลังบ้าน เป็นต้น)
อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนดังกล่าวเป็นสูตรหรือหลักการโดยประมาณเท่านั้น สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม โดยขึ้นอยู่กับสภาพของพื้นที่ดิน ปริมาณน้ำฝนและสภาพแวดล้อม เช่น ในกรณีภาคใต้ที่มีฝนตกชุกกว่าภาคอื่น หรือพื้นที่ใดมีแหล่งน้ำ มาเติมสระได้ต่อเนื่อง ก็อาจลดขนาดของบ่อหรือสระน้ำให้เล็กลง เพื่อเก็บพื้นที่ไว้ใช้ประโยชน์อื่นต่อไป

วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554